ภาคีเครือข่ายแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ

บูรณาการเครือข่ายอาหาร สู่การบริโภคที่สมดุลด้วย ระบบอาหารที่ยั่งยืน ร่วมเสวนาบูรณาการและนวัตกรรมสังคมด้านอาหาร ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด บูรณาการเครือข่ายอาหาร สู่การบริโภคที่สมดุล ด้วยระบบอาหารที่ยั่งยืน “เสริมภูมิคุ้มกันเด็กสุขภาวะดี เริ่มที่อาหารสู่การมีสุขภาวะดี 4 มิติเริ่มที่วัยเด็ก” https://fb.watch/vpeODpM-j7/ เพราะสุขภาวะในเด็กเชื่อมต่อถึงผู้ใหญ่ จึงต้องลงทุนแต่วัยเริ่มแรก…จริงจัง “ง่าย… ใช้… คุ้ม…” เริ่มจากนมแม่ อาหารตามวัย ไม่ปฏิเสธผัก ควบคู่กับการเลี้ยงดูคู่เรียนรู้ เด็กสุขภาวะดี เด็กจะมีคุณลักษณะที่พร้อมอยู่ในศตวรรษที่ 21 ต่อไป เอกสารน่ารู้ : https://drive.google.com/drive/folders/1cRZvj4McS_GL4Vjag8OHfOBUeR3aEA8y?fbclid=IwY2xjawGGYrhleHRuA2FlbQIxMAABHfINz_UpoZiTigjE7Gf2Or8imwd73eLVkO8-u1dUpMDNo-ysVrGJdby3RQ_aem_b_ENyW1eXngtPlCCC2tGqQ ติดตามสาระน่ารู้เพิ่มเติม ได้ที่ Facebook Live ทางเพจ Food Citizens

กิจกรรมศิลปะ : ประดิษฐ์เชิงเทียนจากขวดน้ำพลาติก

กิจกรรมศิลปะ ประดิษฐ์เชิงเทียนจากขวดน้ำพลาสติก ที่ไม่ใช้แล้ว เป็นการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม การรีไซเคิลขวดน้ำพลาสติก แล้วนำกลับมาประดิษฐ์เป็นเชิงเทียนเพื่อส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และส่งเสริมพัฒนาการ ด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กๆ ให้แข็งแรง

Early Learning: การเรียนรู้ของวัยแรกเริ่ม

วีณา ประชากูล แน่นอน! การเรียนรู้ในระยะแรกเริ่มของเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสําคัญที่ส่งผลต่อพัฒนาการและความรักที่จะเรียนรู้ของเด็ก การดูแลเอาใจใส่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทางอารมณ์ สายสัมพันธ์และการตอบสนองที่ดีในแต่ละวันระหว่างเด็กกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ล้วนเป็นเหมือนบ่วงร้อยรัดถักทอที่สำคัญต่อคุณภาพและโอกาศที่จะสามารถมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จในอนาคต การสร้างโลกแห่งการเรียนรู้ในช่วงแรกของชีวิตนี้ส่งผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ความมั่นใจ และพลังแห่งการใฝ่รู้เพื่อพัฒนาตนเองในแบบที่เขาควรเป็นตามศักยภาพต่อไป ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการสำคัญในแต่ละด้าน ทั้งด้านความเข้าใจตนเอง อารมณ์ สังคม ด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ และด้านร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญที่วงการวิชาการได้พิสูจน์แล้วว่าหากผู้เลี้ยงดูมีความตระหนักจะช่วยให้เด็กในปกครองเรียนรู้ได้ดี มีวิธีการตอบสนองและพัฒนาความกระหายใคร่รู้ตามช่วงวัยของเด็กด้วยวิธีการเลี้ยงดูคู่การเรียนรู้ที่เหมาะสม หากคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูเลี้ยงดูเด็กยังมีความวิตกกังวลว่าความรู้ของเรามีเพียงพอหรือไม่อย่างไร คำอธิบาย เกี่ยวกับการเรียนรู้ของวัยแรกเริ่มเรียนรู้ด้านต่อไปนี้ อาจจะช่วยให้ท่าน เบาใจ คลายกังวลได้บ้าง เรามาทำความเข้าใจตามไปทีละประเด็นทีละหัวข้อกันนะคะ หัวข้อที่ 1 การพัฒนาสมอง:เมื่อทารกเกิดมาสมองของพวกเขาเป็นเหมือนกระดานชนวนที่ว่างเปล่าและมันเริ่ม สร้างการเชื่อมต่ออย่างรวดเร็ว จากการดูแลเอาใจใส่ ของผู้ คนรอบข้าง รวมถึง การสร้าง สภาวะแวดล้อม ที่อบอุ่น ปลอดภัยเช่น การกอด การพูดคุยและการปลอบประโลมช่วยให้สมองทารกพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ประสบการณ์การเรียนรู้ในช่วงต้นแม้แต่ประสบการณ์ง่ายๆ เช่น การเล่นกับของเล่นหรือการฟังเรื่องราว กระตุ้นสมองล้วนเป็นการวางรากฐานสําหรับการเรียนรู้ในอนาคตทั้งสิ้น หัวข้อที่ 2 การเรียนรู้มาคู่อารมณ์ที่ดี: ทารกและเด็กวัยเตาะแตะต้องการความรักและความเอาใจใส่เพื่อให้รู้สึก ปลอดภัย การดูแลที่ตอบสนองในช่วงปีแรกของเด็กสร้างความผูกพันทางอารมณ์ การดูแลเอาใจใส่ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจซึ่งเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการรักษาความสมดุลที่ดีทางอารมณ์ …

Early Learning: การเรียนรู้ของวัยแรกเริ่ม Read More »

รู้จัก “สวนเด็กสุทธาเวช” พื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อเติบโตอย่างมีคุณภาพ 

ถึงความสำคัญของการดูแลบุตรหลานในครอบครัวของตนอย่างเต็มที่ เพื่อให้บุตรหลานของตนเติบโต และมีพัฒนาการที่ดีสมวัย พร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมในอนาคตต่อไป ผศ.ดร.เทพลักษณ์ ศิริธนะวุฒิชัย อธิการบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ ดร.สวาสฎิพร แสนคำ ผู้จัดการสวนเด็กสุทธาเวช ได้เล่าถึงความเป็นมา และภารกิจการขับเคลื่อนงานภายในสวนเด็กสุทธาเวช โดยมีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2561 โรงพยาบาลสุทธาเวช ได้มีนโยบายส่งเสริมบุคลากรทางการแพทย์ในสังกัดโรงพยาบาลทุกคนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่วัยแรกเกิด แต่ขณะนั้นยังขาดพื้นที่ส่วนกลางในการดูแลเด็กๆ กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว โรงพยาบาลจึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้สถานพัฒนาเด็กเล็ก (Day care) เพื่อส่งเสริมนโยบายดังกล่าว และเป็นส่วนหนึ่งในสวัสดิการของบุคลากรในสังกัดโรงพยาบาลสุทธาเวชแห่งนี้ ภายหลังมีประชาชนทั่วไปให้ความสนใจศูนย์เรียนรู้ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และเล็งเห็นโอกาสในการใช้พื้นที่ที่มีอยู่เพื่อพัฒนาศักยภาพและทักษะต่างๆ ของเด็กในหลากหลายด้านอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องพัฒนาการทางสมองตามองค์ความรู้ที่มีเกี่ยวกับพัฒนาการของวัยเด็กในช่วงอายุ 3 เดือน จนถึงอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นเสมือนช่วงนาทีทองของการพัฒนาเด็กได้อย่างดีที่สุด จึงได้ขยายพื้นที่เพิ่มเติมและเปิดให้บริการสำหรับประชาชนทั่วไป พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น ‘สวนเด็กสุทธาเวช’ ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สวนเด็กสุทธาเวช ได้ออกแบบพื้นที่การดูแลเด็กให้มีสภาพแวดล้อมที่สะอาด และปลอดภัย (Clean and Green) มีการจัดพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมและกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กอย่างหลากหลาย เช่น สนามเด็กเล่นสไตล์สวนธรรมชาติ กิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะ ทักษะการทำอาหารในครัวเรือน เป็นต้น โดยมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งพยาบาลวิชาชีพ ครูสอนดนตรี …

รู้จัก “สวนเด็กสุทธาเวช” พื้นที่แห่งการเรียนรู้เพื่อเติบโตอย่างมีคุณภาพ  Read More »

พลังแห่ง “ความรักจากพ่อแม่”สร้างเสริมพัฒนาการทางสมองที่ดีให้กับเด็ก

ความรักและความสัมพันธ์ที่ดีจากคนในครอบครัว นับเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเลี้ยงดูเด็ก เมื่อคุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง หรือสมาชิกในแต่ละครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แสดงความรัก ความห่วงใยกับลูกน้อย ย่อมทำให้เด็กๆ ได้รับความอบอุ่น ทำให้เด็กมีความมั่นคงทางจิตใจ รวมถึงช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองที่ดีให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น ดร. สวาสฎิพร แสนคำ ผู้จัดการสวนเด็กสุทธาเวช ได้เล่าถึงความเชื่อมั่นเกี่ยวกับพลังแห่งความรักจากคุณพ่อและคุณแม่ จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาการที่ดีให้กับลูกน้อย โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองของเด็กที่จะเกิดขึ้นในช่วงวัยระหว่างอายุ 3 เดือนจนถึงอายุ 3 ปี หากเด็กๆ ได้รับความรักจากพ่อแม่อย่างสม่ำเสมอจะช่วยสร้างเสริมพัฒนาการทางสมองที่ดีให้กับเด็กเช่นกัน โดยทางสวนเด็กสุทธาเวช ขับเคลื่ิอนการดูแลเด็กๆ ทุกคนบนพื้นฐานความรัก และแสดงความรักแก่เด็กๆ ด้วยวิธีง่ายๆ 3 วิธี ดังนี้ 1. รักผ่านการสัมผัสร่างกาย เช่น การสวมกอด การอุ้ม การหอมแก้ม เพื่อทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย โดยทีมเจ้าหน้าที่จะสวมกอดเด็กทุกคนในตอนเช้าที่รับเด็กๆ เข้าบริเวณพื้นที่   2. รักผ่านการเปล่งเสียง เช่น การพูดคุยสื่อสารกันด้วยถ้อยคำที่สุภาพ อ่อนโยน ผ่านการทำกิจกรรมร้องเพลง เล่านิทาน และอ่านหนังสือ เพื่อทำให้เด็กมีพัฒนาการทางการใช้ภาษาอย่างชาญฉลาด 3. รักผ่านการใช้เวลาร่วมกัน เจ้าหน้าที่ทุกคนจะพูดคุยกับเด็กๆ …

พลังแห่ง “ความรักจากพ่อแม่”สร้างเสริมพัฒนาการทางสมองที่ดีให้กับเด็ก Read More »

ทำอย่างไร  เมื่อลูกปฏิเสธอาหาร นักโภชนาการอาหารเด็ก สวนเด็กสุทธาเวชมีทางออก

เชื่อว่าหลายครั้ง และหลายครอบครัวต้องเคยเจอประสบการณ์ลูกน้อยไม่อยากทานอาหาร งอแงปฏิเสธอาหารแม้จะเป็นสิ่งที่ชอบทานก็เช่นกัน คุณครูชันณิษา ดีสม  นักโภชนาการอาหารเด็ก และคุณครูประจำสวนเด็กสุทธาเวชเล่าถึงสาเหตุที่ทำให้เจ้าจิ๋วของเราเบื่ออาหาร ไม่อยากทาน หรือมักปฏิเสธอาหารตรงหน้า อาจมาจากหลายเหตุผล เช่น เด็กๆ ไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยลองทานมาก่อน, หน้าตา สีสันไม่น่าทาน ไม่น่าสนใจ, เคยมีประสบการณ์ในการลองแล้ว ไม่อร่อยไม่ถูกปาก รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ สิ่งที่คุณพ่อ คุณแม่สามารถทำได้คืออะไร??? หากปลายทางคืออาหาร แน่นอนว่าการหมั่นหมุนเวียนอาหาร ให้มีเมนูที่หลากหลายขึ้น เป็นสิ่งที่ช่วยได้ เราไม่ควรให้ลูกทานแต่สิ่งที่ชอบ ที่ถูกใจซ้ำๆ เพราะไม่เป็นผลดีกับตัวเด็กๆ การทานอาหารซ้ำๆ จะทำให้สารอาหารที่จำเป็นและมีประโยชน์อาจขาดหายไป ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและสมอง..ฉะนั้นการได้รับอาหารที่หลากหลายก็จะช่วยให้ลูกมีโอกาสได้รับสารอาหารที่หลากหลายเช่นกัน แต่วันนี้เราจะมาบอกเล่าวิธีการสร้างประสบการณ์ให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในการกระตุ้นความอยากอาหารด้วยตัวของเขาเอง เหนือสิ่งอื่นใด คุณพ่อคุณแม่ ต้องเปิดใจและยอมรับที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ไปพร้อมๆ กับเขา และสอนให้รู้จักสิ่งอันตรายต่างๆ เพื่อเขาจะได้ระมัดระวัง หากพร้อมแล้ว.. ลองลงมือทำกันเลย 1. พาไปรู้จักกับวัตถุดิบที่ต้นทาง หรือแหล่งวัตถุดิบใกล้บ้านที่สะดวก เช่น พาเข้าสวนครัวดูพักที่ปลูก ดูแหล่งอาหารในชุมชน, ตลาด 2. ให้เด็กๆ ช่วยคิด ช่วยออกแบบเมนูด้วยว่าอยากนำวัตถุดิบนี้ไปทำเป็นอะไรดี หรืออยากทานอะไรจากวัตถุดิบนี้  3. …

ทำอย่างไร  เมื่อลูกปฏิเสธอาหาร นักโภชนาการอาหารเด็ก สวนเด็กสุทธาเวชมีทางออก Read More »

ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ “Early Childcare and Education Collaboration” ครั้งที่ 1″ ครบรอบ 20ปี คณะแพทย์ฯ มมส.

20 ปี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ  “Early Childcare and Education Collaboration” ครั้งที่ 1 กับ Step up Nurturing and Naturing for Children under 3 ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ  “Early Childcare and Education Collaboration” ครั้งที่ 1 ร่วมรับฟังและพูดคุยกับคณะแพทย์ คณาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญ  มาไขความลับของ “การเลี้ยงดูคู่การเรียนรู้เด็กช่วง 3 ขวบปีแรก”  กุญแจที่จะทำให้ลูกของเราไปได้ไกลและมีคุณภาพมากกว่าในโลกอนาคต 21-22 พฤศจิกายน 2566 ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2566สมัครลงทะเบียนเข้าร่วมแบบ online  ราคา 1,000 บาทสมัครลงทะเบียนเข้าร่วมแบบ …

ขอเชิญเข้าร่วมประชุมวิชาการ “Early Childcare and Education Collaboration” ครั้งที่ 1″ ครบรอบ 20ปี คณะแพทย์ฯ มมส. Read More »

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ชูต้นแบบ “Day Care นมแม่”

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ชูต้นแบบ “Day Care นมแม่” ผลักดันสู่นโยบายสร้างเสริม พัฒนาการเด็กไทยอายุ 3 เดือน – 3 ปี ผ่านการเลี้ยงดูคู่เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ จับมีอกรมอนามัย และแพทย์-พยาบาลขับเคลื่อนต้นแบบสถานพัฒนาเด็กเล็ก เน้นนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน นมแม่อาหารตามวัยและการเลี้ยงดูคู่เรียนรู้ที่เหมาะสมกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย  ปัจจุบันการให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นที่จะต้องมีการเลี้ยงดูอย่างมีคุณภาพที่สามารถยกระดับการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัย 3 เดือนถึง 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เรียกว่า “หน้าต่างแห่งโอกาส” ซึ่งข้อมูลวิชาการยืนยันว่าถ้าลูกได้กินนมแม่ลูกมีโอกาสฉลาด และยิ่งได้กินมากยิ่งมีโอกาสฉลาดมาก แต่จะมีผลดีมากกว่านี้ หากลูกได้รับนมแม่ควบคู่กับการเลี้ยงดูคู่เรียนรู้แบบมีคุณภาพ Early Chilchood Educotion and Care (ECEC)  ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย 2565 พบว่าเมื่อแม่ลาคลอดครบ 3 เดือนและต้องกลับไปทำงาน เด็กจะได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ย่าตายายถึงร้อยละ 70.6 ซึ่งมีผลต่อคุณภาพในการเลี้ยงดูเด็กเล็ก เราจะมีวิธีการสนับสนุนให้เด็กได้กินนมแม่ครบ 6 เดือนได้อย่างไร  ทำอย่างไรให้มีคนดูแลลูกแทนแม่ ให้ลูกได้อยู่ใกล้ๆ ให้แม่สามารถมาโอบกอดและเลี้ยงลูกได้  คำตอบก็คือการมี Day Care คุณภาพใกล้บ้านหรือในที่ทำงาน …

มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ชูต้นแบบ “Day Care นมแม่” Read More »